หนาวฉับพลัน เหตุไฉนกระเบื้องถึงระเบิด

Rate this post

กระเบื้องระเบิด เกิดได้อย่างไร?

สาเหตุหลักมาจาก สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันครับ  แล้วอากาศเนี่ย ไปส่งผลต่อกระเบื้อง ส่งผลต่อปูน ให้มีการขยายหรือหดตัวครับ  เมื่อการขยายหรือหดตัวของปูนและกระเบื้องไม่สัมพันธ์กัน  ผลที่เกิดคือ กระเบื้องระเบิดครับ

คราวนี้ องค์ประกอบที่ทำให้กระเบื้องระเบิด ประกอบด้วย

1.ชนิดของกระเบื้อง

กระเบื้องแต่ละชนิดไม่ว่าจะเป็น กระเบื้องดินเผา กระเบื้องเซรามิก กระเบื้องพอร์สเลน กระเบื้องแกรนิตโต้ มีอัตราการขยายและหดตัวที่แตกต่างกันครับ (กระเบื้องดินเผาจะหดเเละขยายตัวมากที่สุด  รองลงมากระเบื้องเซรามิก กระเบื้องพอร์สเลน กระเบื้องแกรนิตโต้จะหดขยายตัวน้อยที่สุด)

2. ปูนที่ใช้ปูกระเบื้อง

2.1 มอร์ต้า (ปูน+ทราย+น้ำ)  มีอัตราการหดและขยายตัวสูงเมื่ออุณหภูมิมีการเปลี่ยนแปลง ( เช่น ถนน มีการเว้นร่องของแต่ละช่วง อย่างต่ำๆก็ 2 เซนติเมตร)

2.2 กาวซีเมนต์  มีอัตราการหดและขยายตัวที่น้อยกว่ามอร์ต้า และยังมีประสิทธิภาพในการยึดเกาะที่ดีกว่าซึ่งกาวซีเมนต์ที่ใช้จึงควรมีแรงยึดเกาะที่สูง เช่น กาวซีเมนต์จระเข้ เงิน หรือกาวซีเมนต์จระเข้ ทอง เป็นต้น

3.วิธีการปูกระเบื้อง

3.1 การปูกระเบื้องแบบเดิม ไม่ว่าจะเป็นการปูซาลาเปา หรือการปูสดที่เรียกว่าขี้ช้าง นอกจากจะใช้ปูนในปริมาณที่มาก อัตราการหดและขยายยังมีอัตราที่ค่อนข้างสูง และทำให้กระเบื้องที่ปูไม่ได้ระดับอีกด้วย

3.3  การปูกระเบื้องโดยใช้กาวซีเมนต์ จะใช้ปูนในปริมาณที่เหมาะสม จึงลดอัตราการหดและขยายตัวของปูนได้ กระเบื้องที่ปูจึงได้ระดับที่เท่ากัน

4. ปูกระเบื้องชิดเกินไป

กระเบื้องแต่ละชนิดมีการยืดและหดตัวที่ต่างกัน เช่น แกรนิตโต้จะมีการยืดหดตัวที่น้อยกว่ากระเบื้องเซรามิก  ดังนั้น แกรนิตโต้จึงควรเว้นร่อยอย่างน้อย 2 มิลลิเมตร ส่วนเซรามิคก็ควรเว้นร่องอย่างน้อย 3 มิลลิเมตร เพื่อลดโอกาสเกิดการระเบิดของกระเบื้อง

ข้อควรจำ

  1. ใช้ปูนกาวที่มีแรงยึดเกาะที่ดี
  2. ปูกระเบื้องอย่างถูกวิธี
  3. เว้นร่องยาแนวให้พอเหมาะ

เมื่อทราบถึงปัจจัยที่มีผลต่อการระเบิดของกระเบื้อง ดังนั้นจึงควรที่จะใส่ใจในทุกรายละเอียดเพื่อลดโอกาสเสี่ยงของปัญหากระเบื้องระเบิดไม่ให้มากวนใจ และการที่จะต้องสูญเสียเงินเพื่อการซ่อมแซมบ้านจากปัญหากระเบื้องระเบิด

ตัวอย่างกระเบื้องระเบิดที่พบบ่อยในปัจจุบัน

พื้นที่ๆมีสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน เช่น ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นต้น จะพบการระเบิดของกระเบื้องบ่อย เพราะพื้นที่เหล่านี้ต้องเจอสภาพอากาศร้อนในเวลากลางวันและสภาพอากาศเย็นในเวลากลางคืน และหากอยู่ในช่วงฤดูหนาว สภาพอากาศจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นได้ชัด จึงส่งผลทำให้ในฤดูหนาวมีเหตุการณ์กระเบื้องระเบิดเป็นจำนวนมาก

คอนโดมิเนียม ปัจจุบันการผุดตัวของที่พักอาศัยในรูปแบบอาคารชุดมีมากมายทั้งในกรุงเทพมหานครและตามหัวเมืองต่างๆ สิ่งที่เหมือนกันของอาคารชุดเหล่านี้ คือ รูปแบบของห้องที่ปิดทึบโดยมีกระจกไว้เปิดเพื่อระบายอากาศ เนื่องจากการติดตั้งกระจกต้องมีการอุดรอยต่อของกระจกอย่างแน่นหนาเพื่อป้องกันการซึมของน้ำ จึงทำให้ไม่สามารถถ่ายเทอากาศได้เมื่อทำการปิดกระจก และหากปิดห้องไว้ในช่วงกลางวัน อากาศสะสมในห้องจะมีอุณหภูมิที่สูงเนื่องจากไม่สามารถถ่ายเทอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซ้ำร้ายไปกว่านั้นหากห้องนั้นรับแดดช่วงเวลาบ่าย อากาศในห้องจะมีอุณหภูมิที่สูงมาก ดังนั้น เมื่อเปิดเครื่องปรับ อากาศในสภาพห้องที่ยังคงมีอุณหภูมิที่สูงอยู่ จะทำให้ภายในห้องมีสภาพอากาศที่แปรปรวน จากร้อนมาเย็นอย่างฉับพลับ โอกาสที่จะทำให้เกิดเหตุการณ์กระเบื้องระเบิดจึงมีสูง

ศาสตราจารย์ คณาเดช 35 ปีที่โรงพยาบาลทหารเรือกรุงเทพ

อายุรแพทย์โรคหัวใจ อายุรแพทย์ (แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว) นักบำบัดโรค แพทย์ประจำคลินิก มีวิธีการที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพในการวินิจฉัยและรักษาโรคที่หลากหลายในเด็กและผู้ใหญ่ เขาเป็นหนึ่งในเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านปัญหาความพิการชั่วคราว คุณภาพของการรักษาพยาบาล เขามีความรู้ทางด้านโรคหัวใจและทางเดินอาหาร เขารู้ดีถึงปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ ใช้วิธีตรวจสอบ Holter และตรวจวัดความดันโลหิตทุกวัน
ทักษะผู้เชี่ยวชาญ:

ความดันโลหิตสูงในทุกรูปแบบ รวมถึงความดันโลหิตสูงในหลอดเลือดแดงทุติยภูมิ
โรคหลอดเลือดหัวใจ
การรบกวนจังหวะการเต้นของหัวใจ
โรคหัวใจอุดกั้นเรื้อรัง
การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนและส่วนล่างแบบเฉียบพลัน
โรคหอบหืด
โรคกระเพาะเรื้อรังและแผลในกระเพาะอาหาร
ไตวายเรื้อรัง
ความผิดปกติของลำไส้ทำงาน
โรคกระดูกพรุน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *